ส่องหุ้นรับอานิสงส์เทรนด์ “ดอกเบี้ยขาขึ้น”
Read Time:3 Minute, 32 Second

ส่องหุ้นรับอานิสงส์เทรนด์ “ดอกเบี้ยขาขึ้น”

0 0

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมธนาคารกลางหลายประเทศ ซึ่งนักลงทุนต่างเฝ้ารอเพื่อจับสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงิน หลังแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อทั่วโลกกำลังเร่งตัวขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย

แน่นอนว่าที่ถูกจับตามองมากที่สุดคงหนี้ไม่พ้นพี่ใหญ่สหรัฐฯ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบาย 0.00-0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้

ขณะเดียวกันจะเร่งปรับลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร (คิวอี) เป็น 2 เท่า จากเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นเดือนละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เริ่มเดือนม.ค. 2565 ซึ่งจะทำให้วงเงินคิวอีทั้งหมดที่เฟดได้อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมาตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 สิ้นสุดลงในเดือนมี.ค. 2565

และที่เป็นไฮไลต์สำคัญในครั้งนี้ คือ “การขึ้นดอกเบี้ย” โดยคณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปี 2565 ทั้งหมด 3 ครั้ง ปี 2566 อีก 2 ครั้ง และปี 2567 อีก 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการเปิดประตูเล่นบอลออนไลน์ ดีที่สุดดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมรับมือกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น

แม้เฟดจะเพิ่มความเข้มงวดในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่ตลาดหุ้นทั่วโลกแทบไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเป็นเรื่องที่รับรู้อยู่แล้ว และยังทำให้เห็นว่าเฟดมีความพร้อมมีเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้นส่องหุ้นรับอานิสงส์เทรนด์ “ดอกเบี้ยขาขึ้น”

แต่ที่สร้างความเซอร์ไพรส์เห็นจะเป็นธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี ถือว่าหักปากกาเซียนเพราะบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่า BOE น่าจะยังคงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0.10%

แม้ดอกเบี้ยโลกจะเป็นขาขึ้น แต่สำหรับประเทศไทยบรรดากูรูต่างเห็นตรงกันว่า ประตูดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยยังไม่น่าจะถูกเปิดเร็วๆ นี้ โดยส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ไปตลอดปี 2565 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และยังมีความเสี่ยงหากเกิดการระบาดรอบใหม่ ดังนั้นนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังเป็นสิ่งจำเป็น

หากมองอีกมุมแม้ดอกเบี้ยไทยจะยังไล่หลัง ไม่ได้ขึ้นตามประเทศอื่นๆ แต่เมื่อเทรนด์ดอกเบี้ยโลกเป็นขาขึ้นแบบนี้ ถือเป็นการปิดประตูดอกเบี้ยขาลงไปในตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า ธปท. จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในปี 2566 สะท้อนว่าในระยะยาวดอกเบี้ยยังเป็นเทรนด์ขาขึ้น

ดังนั้นธีมการลงทุนรับดอกเบี้ยขาขึ้นถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ซึ่งกลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะสินเชื่อที่ปล่อยให้กับลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อแบบลอยตัว ซึ่งอิงไปตามดอกเบี้ยนโยบาย เมื่อ ธปท. ขึ้นดอกเบี้ย แบงก์พาณิชย์จะขึ้นตาม

ขณะที่ในฝั่งเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำมีอัตราดอกเบี้ยตายตัว ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของแบงก์ปรับตัวเพิ่มขึ้น หนุนกำไรโตตามไปด้วย ขณะที่แนวโน้มสินเชื่อยังเติบโตต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว หนุนกำลังซื้อ การลงทุน การใช้จ่าย กลับมาคึกคักอีกครั้ง

โดยบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศ) ระบุว่า ให้น้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็น Overweight ในเชิงกลยุทธ์แบงก์ใหญ่ยังน่าสนใจ นำโดยธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่ม คาดกำไรต่อหุ้นปี 2564 โต 20.8% และปี 2565 โต 11.3%

ส่องหุ้นรับอานิสงส์เทรนด์ “ดอกเบี้ยขาขึ้น”

รองมาเป็นธนาคารกรุงเทพ (BBL) เนื่องจากปัจจุบันราคาหุ้นถือว่าถูกมาก โดย P/BV ต่ำเพียง 0.5 เท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะมีการจ่ายปันผลพิเศษในไตรมาส 2 ปี 2565 จากการแปลง SCB เป็น SCBX ซึ่งเฉพาะปันผลพิเศษนี้คาดมี Yield ราว 3-5%

ส่วนแบงค์เล็กหุ้นเด่น คือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) และทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) ซึ่งจ่ายปันผลสูงมากคิดเป็น Yield 6-7% ต่อปี โดย KKP จ่ายปีละ 2 ครั้ง แต่จ่ายระหว่างกาลน้อยกว่ารอบหลัง ส่วน TISCO จ่ายปีละ 1 ครั้ง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Previous post สศค. จับตาใกล้ชิด “โอมิครอน” ความเสี่ยงใหม่เศรษฐกิจไทย
Next post The Aspen Tree จัดกิจกรรมตอกย้ำสังคมคุณภาพวัย 50+